31 กรกฎาคม 2560
30 กรกฎาคม 2560
เปิดบันทึก พลโทสมิง ไตลังคะ กับภารกิจประวัติศาสตร์ รับเสด็จตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ตอนที่ ๒
ต่อจาก "เปิดบันทึก พลโทสมิง ไตลังคะ กับภารกิจประวัติศาสตร์ รับเสด็จตุลาการศาลทหารกรุงเทพ (ตอนที่ ๑)"
อ่านต่อใน "เปิดบันทึก พลโทสมิง ไตลังคะ กับภารกิจประวัติศาสตร์ รับเสด็จตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ตอนที่ ๓(ตอนจบ)"
อ่านต่อใน "เปิดบันทึก พลโทสมิง ไตลังคะ กับภารกิจประวัติศาสตร์ รับเสด็จตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ตอนที่ ๓(ตอนจบ)"
29 กรกฎาคม 2560
เปิดบันทึก พลโทสมิง ไตลังคะ กับภารกิจประวัติศาสตร์ รับเสด็จตุลาการศาลทหารกรุงเทพ
จากบทความ "เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จทรงเป็นตุลาการศาลทหาร" ซึ่งได้เล่าถึงการเหตุการณ์ครั้งที่ พลโท สมิง ไตลังคะ เจ้ากรมพระธรรมนูญในขณะนั้น ได้นำคณะเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯถวายหนังสือ"ศาลทหารไทย" แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศเป็น ร้อยเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และได้กราบบังคมทูลเชิญให้เสด็จมาทรงเป็นตุลาการศาลทหารกรุงเทพ นั้น
"บันทึกนายทหารพระธรรมนูญ" ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านไปเปิดบันทึกความทรงจำอันน่าภาคภูมิใจและปลื้มปิติ ของ พลโท สมิง ไตลังคะ ที่ได้เล่าเรื่องราวความเป็นมา และเหตุการณ์ตั้งแต่การเข้าเฝ้าถวายหนังสือ การกราบบังคมทูลเชิญ การเตรียมการรับเสด็จ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารกรมพระธรรมนูญ ฉบับประจำเดือน ธันวาคม ๒๕๑๙
และเพื่อเป็นรักษารูปแบบของหนังสือราชการที่พลโทสมิงฯ ใช้ประกอบบันทึก อีกทั้งเป็นการคงไว้ซึ่งอรรถรสในการอ่าน จึงขอนำเสนอในรูปแบบของภาพถ่ายจากต้นฉบับแทนการพิมพ์ใหม่ จำนวน ๓๙ หน้า แต่เพื่อไม่ให้บทความยืดยาวเกินไป จึงแบ่งนำเสนอเป็น ๓ ตอน
อ่านต่อใน "เปิดบันทึก พลโทสมิง ไตลังคะ กับภารกิจประวัติศาสตร์ รับเสด็จตุลาการศาลทหารกรุงเทพ ตอนที่ ๒ "
28 กรกฎาคม 2560
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จทรงเป็นตุลาการศาลทหาร
ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ศาลทหารไทยที่ยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำของบุคคลากรนักกฎหมายทหารมิลืมเลือน ด้วยความซาบซึ้งและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นองค์รัชทายาท
กับพระราชกรณียกิจเสด็จทรงเป็นตุลาการ
ณ ศาลทหารกรุงเทพ
( ภาพจาก ห้องเกียรติยศ โรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ)
วันนั้นคือวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศ ร้อยเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งที่ทรงขับด้วยพระองค์เอง มายังศาลทหารกรุงเทพฯ เพื่อทรงเป็นตุลาการเฉพาะคดี ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของเจ้ากรมพระธรรมนูญในขณะนั้น
ภาพจากวารสารครบรอบ ๑๐๐ ปีกรมพระธรรมนูญ จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ |
ภาพจากวารสารกรมพระธรรมนูญ ฉบับประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๙ |
จุดเริ่มต้นของการการกราบบังคมทูลเชิญพระองค์ท่านเสด็จมาทรงเป็นตุลาการศาลทหารกรุงเทพฯ จนกลายเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของวงการกฎหมายทหารนั้น ปรากฏตามคำบอกเล่าของ พลโท สมิง
ไตลังคะ เจ้ากรมพระธรรมนูญในขณะนั้น
ซึ่งบันทึกไว้ในวารสารพระธรรมนูญ ฉบับที่ ๖ ประจำเดือนธันวาคม ๒๕๕๙ พอสรุปใจความได้ว่า
เมื่อ พลโท สมิงฯ
รับตำแหน่งเจ้ากรมพระธรรมนูญได้ประมาณห้าปี
ท่านเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
ในพระราชอิริยาบถที่ทรงสวมชุดครุยเนติบัณฑิตประทับบนบัลลังค์ศาลสถิตยุติธรรมร่วมกับผู้พิพากษาอื่น อันเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่ตั้งอยู่หน้าห้องทำงานของท่าน ท่านก็นึกถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวิชราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศ ร้อยโท
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ว่าถ้าทรงพระราชดำเนินตามรอยพระบุคคลบาทพระราชชนกก็จะเป็นเกียรติประวัติแก่กรมพระธรรมนูญ แต่ขณะนั้นพระองค์ท่านยังมิทรงเป็นทหารประจำการ จึงยังไม่อาจกราบบังคมทูลเชิญมาทรงเป็นตุลาการศาลทหารได้
ครั้นต่อมาเมื่อพระองค์ท่านทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารจากวิทยาลัยการทหารดันทรูน ประเทศออสเตรเลีย และได้รับพระราชทานพระยศเป็นร้อยเอก อีกทั้งทรงได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงกลาโหมให้ทรงเป็นทหารประจำการในตำแหน่งประจำกรมข่าวทหารบก
ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถได้รับการแต่งตั้งให้ทรงเป็นตุลาการศาลทหารได้ พลโทสมิงฯจึงเริ่มดำเนินการเพื่อกราบบังคมทูลเชิญ
โดยเริ่มจากการจัดทำหนังสือเรื่อง "ศาลทหารไทย" เพื่อทูลเกล้าฯถวายให้ทรงศึกษา ซึ่งท่านและคณะได้เข้าเฝ้าและทูลเกล้าถวายหนังสือดังกล่าว ณ
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๙ ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงซักถามและรับสั่งกับท่านเจ้ากรมพระธรรมนูญด้วยความสนพระทัย
และทรงมีพระราชปรารภว่าจะหาโอกาสเสด็จมาประทับเป็นตุลาการศาลทหารกรุงเทพด้วย
พลโท สมิง ไตลังคะ เจ้ากรมพระธรรมนูญ(ในขณะนั้น) และคณะ เข้าเฝ้าทูลเกล้าฯถวายหนังสือ ศาลทหารไทย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๙ (ภาพจากวารสารกรมพระธรรมนูญ ประจำเดือน ธันวาคม ๒๕๑๙) |
และไม่นานหลังจากนั้น พระองค์ท่านก็ได้เสด็จมายังศาลทหารกรุงเทพฯ
ตามคำกราบบังคมทูลของท่านเจ้ากรมพระธรรมนูญ
นับเป็นข่าวดีสำหรับท่านเจ้ากรมพระธรรมนูญ
ซึ่งได้ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเตรียมการรับเสด็จ
(
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ในการเตรียมการรับเสด็จของเจ้ากรมพระธรรมนูญ
ได้จากบทความ “เปิดบันทึกพลโท สมิง ไตลังคะ กับภารกิจประวัติศาสตร์รับสด็จตุลาการศาลทหารกรุงเทพ”)
การเสด็จมาทรงเป็นตุลาการศาลทหารกรุงเทพในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๑๙ นั้น ทรงปปฏิบัติหน้าที่ตุลาการเฉพาะคดี ร่วมกับพันเอก พิบูลย์ จันทโรจวงศ์ (ยศในขณะนั้น)เป็นตุลาการพระธรรมนูญ และ พลเรือตรีชัชรินทร์ พุ่มอิ่มผล(ยศในขณะนั้น) เป็นตุลาการร่วม ในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่อัยการศาลทหารกรุงเทพเป็นโจทก์ จำนวน ๓ คดี คือ
ภาพจากวารสารกรมพระธรรมนูญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๙ |
ภาพจากวารสารกรมพระธรรมนูญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๙ |
๑.
คดีดำที่ ๓๗๙/๒๕๑๙ ความอาญาระหว่างอัยการศาลทหารกรุงเทพ เป็นโจทก์ฟ้อง สิบโท สมชาย
สุวรรณคีรี เป็นจำเลย ความผิดฐานมีอาวุธปืน
เครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย ๓
เดือน (สามเดือน) และปรับ ๕๕๐ บาท(ห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) อาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางให้ริบ โทษจำคุกให้รอการลงโทษจำเลยไว้ภายในกำหนด ๑ ปี(หนึ่งปี) ส่วนโทษปรับนั้น ปรากฏว่าจำเลยต้องคุมขังมาพอแก่โทษแล้ว จึงให้ปล่อยตัวไป
๒.
คดีดำที่ ๓๘๐/๒๕๑๙ ความอาญาระหว่าง อัยการศาลทหารกรุงเทพ เป็นโจทก์ฟ้อง สิบเอก สมเด็จ แสงคำ
เป็นจำเลย
ความผิดฐานมีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย
๓ เดือน(สามเดือน) และปรับ ๕๕๐ บาท(ห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
โทษจำคุกให้รอการลงโทษจำเลยไว้ภายในกำหนด ๑ ปี(หนึ่งปี) ส่วนค่าปรับให้บังคับตามกฎหมาย
๓.
คดีดำที่ ๓๘๑/๒๕๑๙ ความอาญาระหว่าง อัยการศาลทหารกรุงเทพ
เป็นโจทก์ฟ้อง จ่าเอก จักรชัย อุ่นใจ เป็นจำเลย ความผิดฐานเปิดสถานบริการประเภทมีดนตรี เต้นรำ
จำหน่ายสุรา
และมีหญิงพาร์ทเนอร์บริการ โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลย ๕๐๐ บาท และให้บังคับค่าปรับตามกฎหมาย
หลังจากศาลพิพากษา จำเลยคดีที่ ๒ และ ๓
นำค่าปรับมาชำระต่อศาลครบถ้วนแล้ว
จำเลยทั้งสามคนจึงไม่มีโทษทัณฑ์ทางอาญาใดๆต่อไปอีก(ปรากฏตามรายงาน ตอนท้ายของหนังสือ กรมพระธรรมนูญ ที่ กห ๐๒๐๒(๐๒)/๔๖ ลงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๒๐ )
ภาพหน้าปก วารสารกรมพระธรรมนูญ ฉบับประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๙ |
นับเป็นพระราชกรณียกิจหนึ่งที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถทางด้านกฎหมายและกระบวนพิจารณาความในศาลทหาร อีกทั้งเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อกรมพระธรรมนูญ และบุคคลการในสายงานกฎหมายทหาร อันเป็นเกียรติประวัติที่จารึกมาถึงปัจจุบัน โดยมีการบันทึกไว้ในวารสารกรมพระธรรมนูญ ฉบับที่ ๖ ประจำเดือน ธันวาคม ๒๕๑๙ , วารสารครบรอบ ๑๐๐ ปีกรมพระธรรมนูญซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙
และปัจจุบันทางโรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ ยังคงเก็บรักษาและจัดแสดงสำเนาคำพิพากษา
ภาพเหตุการณ์ และภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ไว้ในห้องเกียรติยศของโรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ตลอดไป
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
- วารสารกรมพระธรรมนูญ ฉบับประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๙
- วารสาร ๑๐๐ ปี กรมพระธรรมนูญ จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙
- ห้องเกียรติยศ โรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)