30 พฤศจิกายน 2558

ทบทวนความจำ -- ทำความรู้จัก ( เผื่อคุณจะรัก ) ศาลทหาร : ตอนที่ ๖ การอุทธรณ์ - ฎีกา และการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลทหาร



                        ๑. การอุทธรณ์ – ฎีกา
                       ๑.๑ เมื่อคู่ความหรือผู้มีสิทธิอุทธรณ์ – ฎีกา ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาหรือคำสั่ง ของศาลทหาร สามารถอุทธรณ์ – ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นไปยังศาลทหารชั้นสูงกว่า ดังนี้
                             ๑.๑.๑ อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารชั้นต้นต่อศาลทหารกลาง หรือฎีกาต่อศาลทหารสูงสุดโดยตรง ( อำนาจเพิ่มเติมของศาลทหารสูงสุด แก้ไขเพิ่มเติม ตาม พ.ร.บ.ศาลทหารฯ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ.๒๕๕๘ )
                               ๑.๑.๒ ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารกลาง ต่อศาลทหารสูงสุด
                       ๑.๒ ผู้มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ – ฎีกา และระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ – ฎีกา ตามแผนภาพ
                       ๑.๓ ข้อห้ามในการอุทธรณ์ – ฎีกา ตามแผนภาพ
                   ๒. การบังคับตามคำพิพากษา
                       ๒.๑ ผู้ที่จะบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล คือ ผู้มีอำนาจลงโทษ ตาม พ.ร.บ.ศาลทหารฯ ( มาตรา ๖๕ ) คือ
                             ๒.๑.๑ นายทหารผู้บังคับบัญชาจำเลย ตำแหน่งชั้นผู้บังบัญชาการกองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไป    หรือชั้นผู้บังคับกองพันขึ้นไป ในกรณีที่อยู่ต่างถิ่นกับผู้บังคับบัญชาตำแหน่งชั้นผู้บัญชาการกองพล
                             ๒.๑.๒ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งศาลทหารชั้นต้น สั่งลงโทษได้ในกรณีที่จำเลยอยู่ต่างถิ่นกับผู้บังคับบัญชา หรือไม่อยู่ใต้บังคับบัญชาของทหาร
                             ๒.๑.๓ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลประจำหน่วยทหารหรือศาลอาญาศึก สั่งลงโทษตามคำพิพากษาของศาลประจำหน่วยทหารหรือศาลอาญาศึกแล้วแต่กรณี
                       ๒.๒ การดำเนินการบังคับตามคำพิพากษาของศาลทหาร
                             ๒.๒.๑ คำพิพากษาของศาลทหารในเวลาปกติและศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษจัดการให้เป็นไปตามคำพิพากษา
                             ๒.๒.๒ คำพิพากษาของศาลพลเรือนที่ทำหน้าที่ศาลทหาร ( นั่งพิจารณา ณ    ศาลพลเรือน  และมีผู้พิพากษาพลเรือนเป็นตุลาการ : ตาม พ.ร.บ.ศาลทหารฯ มาตรา ๓๗ ) ให้ศาลนั้นบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒๔๕ วรรคหนึ่ง คือ เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ให้บังคับคดีโดยไม่ชักช้า ภายใต้เงื่อนไขและบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                             ๒.๒.๓ คำพิพากษาของศาลอาญาศึก   หรือศาลที่พิจารราพิพากษาคดีแทนศาลอาญาศึก ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ จัดการให้เป็นไปตามคำพิพากษา เว้นแต่นักโทษประหารที่เป็นหญิงมีครรภ์ ให้รอให้คลอดบุตรก่อนแล้วจึงประหาร

                   ๒.๓ คดีที่มีโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต และสามารถอุทธรณ์ได้ ตาม พ.ร.บ.ศาลทหารฯ ถ้าไม่มีการอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นต้องส่งสำนวนคดีให้ศาลทหารกลางพิพากษายืนก่อนจึงจะถือว่าคำพิพากษาถึงที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น